|
|
 |
|
เทศบาลตำบลหนองแดง สามารถติดต่อระหว่างชุมชนได้สะดวก โดยมีเส้นทางคมนาคมสายสำคัญ ดังนี้ |

 |
ถนนสายหลัก คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1168 จากอำเภอแม่จริม ตัดผ่านกลางชุมชนที่สามารถเชื่อมไปยังตำบลหนองแดง ไปสู่ตัวจังหวัดน่าน และด้านทิศใต้ไปยังตำบลหมอเมืองผิวแอสฟัลติก ขนาดเขตทางข้างละ 15 เมตร |

 |
ถนนสายรอง ในเขตเทศบาลตำบลหนองแดงมีสภาพการตั้งถิ่นฐานที่เกาะ ติดกับแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1168 เป็นแนวยาวตลอด จึงมีถนนสายรองเป็นซอยต่าง ๆ เข้าสู่หมู่บ้านต่าง ๆ ในช่วงสั้น และค่อนข้างแคบ |

 |
สภาพถนน โดยส่วนใหญ่พื้นผิวจราจรบนถนนสายหลักอยู่ในสภาพดี บริเวณที่มีปัญหาได้แก่ถนนในชุมชนซึ่งเป็นเขตทางคับแคบ ไม่มีท่อระบายน้ำที่เป็นระบบ และถนนบางส่วนยังเป็นลูกรัง และบางแห่งชำรุด |

 |
การขนส่งผู้โดยสาร เทศบาลตำบลหนองแดงไม่มีสถานีขนส่ง แต่จะมีรถรับส่งโดยสารประจำทางรับส่งผู้โดยสาร จากอำเภอแม่จริม
ถึงตัวจังหวัดน่าน การสัญจรเวลารับ ส่ง ผู้โดยสารยังไม่สะดวกเท่าที่ควร เนื่องจากเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1168
จะมีเส้นทางคดเคี้ยวและเป็นเขาสูง |
|
|
|
|
 |
|
ลักษณะของน้ำ |
ในพื้นที่เทศบาลตำบลหนองแดง ได้มีลำน้ำแม่จริมไหลผ่านทางทิศตะวันตกของพื้นที่ ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลัก
ในการดำเนินการทางด้านการเกษตร และเป็นแหล่งน้ำเดียวในเขตเทศบาล ที่ใช้ในการเพาะปลูก
และเป็นแหล่งน้ำสำหรับการบริโภค |
ลักษณะของดิน |
เทศบาลตำบลหนองแดง ดินในพื้นที่เกิดจากตะกอนนำพา เพราะเป็นบริเวณส่วนต่ำของสันดินริมน้ำ
สภาพพื้นที่ราบเรียบ ความลาดชัน 0-2% การระบายน้ำค่อนข้างเลว การไหลบ่าของน้ำบนผิวดินช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำช้า พืชพรรณธรรมชาติการใช้ประโยชน์ที่ดิน นาข้าว อาจใช้ปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด
ถั่ว หรือพืชผัก ก่อนหรือหลังปลูกข้าว ส่วนใหญ่ดินเป็นดินร่วนปนทรายแป้งหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง
สีเทาปนแดงหรือเป็นสีชมพู มีจุดประสีน้ำตาลเข้ม หรือสีน้ำตาลปนเหลือง |
ลักษณะของไม้และป่าไม้ |
ลักษณะของไม้และป่าไม้ในเขตเทศบาลตำบลหนองแดง ป่าเบญจพรรณ เช่น ประดู่ ชิงชัน เก็ดแดง เก็ดดำ รกฟ้า
มะเฟืองช้าง ตะแบกเลือด ปู่เจ้า มะกอกเกลื้อน ไผ่ไร่ ไผ่บง ไผ่ซาง เห็ดจั่น เห็ดมัน เห็ดซาง และเห็ดขอน เป็นต้น
และป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้ที่พบ เช่น เต็ง รัง เหียง พลวง ไผ่เพ็ก เป้ง เปราะป่า และส้มกั้ง บริเวณ ทุ่งหญ้า พบประดู่
สีเสียดเหนือ มะสัง หญ้าคา และหญ้าปากควาย ในบริเวณที่เป็น แหล่งน้ำ พบแพงพวยน้ำ สาหร่ายหางกระรอก
หญ้าแห้วหมู จอกหูหนู และไข่น้ำ เป็นต้น |
ลักษณะของภูเขา |
มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่น ลอนชันเกิน 30 องศา ส่วนลูกคลื่นลอนลาด ตามลุ่มน้ำ จะเป็นที่ราบแคบๆ |
|